วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

เรียนปริญญาโท-ปริญญาเอก อย่างไร…ให้จบ

          พอดีไปค้นในเว็บไซต์ เจอบทความที่ถอดมาจากหนังสืออีกทีหนึ่งของเว็บไซต์ http://www.snc.lib.su.ac.th/ ซึ่งมีประโยชน์สำหรับนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกที่กำลังศึกษาอยู่ เอาละลองมาอ่านที่เขาถอดบทความมาแล้ว เชิญครับ

         ได้พบหนังสือเล่มหนึ่งเห็นชื่อแล้วน่าสนใจ  ด้วยในสมัยเก่าก่อนกว่าตัว เองจะตัดสินใจเรียน ป.โท ได้ ก็คิดกลับไปกลับมาหลายรอบ ประกอบกับฟังคนร่ำลือว่ากว่าจะเรียนจบ ป.โท ได้ ต่างมีความทรงจำอันแสนทรมาน คิดไปคิดมาสุดท้ายก็ได้เรียนด้วยเรื่องเหลือเชื่อตั้งแต่ก่อนจะเข้าเรียน และหลังเรียนจบ
         ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าการศึกษาระดับ ป.ตรี นั้นคงไม่เพียงพอเสียแล้วสำหรับการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่เส้นทางอาชีพที่ใฝ่ ฝัน ดังนั้นการศึกษาขั้นสูงในระดับปริญญาโท และปริญญาเอกจึงเป็นคำตอบและเป็นใบเบิกทางไปสู่หน้าที่การทำงานที่สูงกว่า  อย่างไรก็ตามหลายๆ คนก็คงรู้สึกว่าการศึกษาในระดับสูงนี้ยากและน่ากลัว เรียนแล้วจะจบหรือไม่ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายซึ่งค่อนข้างสูง
หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นจากความตั้งใจของผู้เขียนที่ต้องการให้คำแนะนำที่ เหมาะสมแก่นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่และผู้สนใจในการศึกษาต่อ รวมทั้งอาจารย์ที่ปรึกษา  เนื้อหาของหนังสือบอกถึงข้อมูลพื้นฐานที่ควรรู้ก่อนจะตัดสินใจเรียนปริญญาโท และปริญญาเอก รวมถึงคนที่ตัดสินใจเรียนแล้วจะได้มีข้อมูลที่ช่วยให้การเรียนง่ายและมีแบบ แผนมากขึ้น ไม่ได้เน้นที่รายละเอียดของการทำวิจัยและการเขียนวิทยานิพนธ์

เนื้อหาหนังสือเล่มนี้ แบ่งออกเป็น 10 บท
บทที่ 1 การเตรียมตัวก่อนศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอก
         กล่าวถึงสาเหตุที่ต้องการศึกษา  อันดับแรกก่อนจะเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและเอก ควรมีการเตรียมตัวหาข้อมูลก่อน ก่อนอื่นต้องตอบคำถามตัวเองให้ได้เสียก่อนว่า “เราจะเรียนปริญญาโทและเอกไปเพื่ออะไร” เพราะนั่นคือจุดมุ่งหมายในชีวิตของท่านและจะมีผลต่อพฤติกรรมการเรียนของท่าน ด้วย  ผู้เขียนได้แบ่งเหตุผลที่ต้องการศึกษาต่อระดับนี้ไว้ 7 ประเภท กล่าวคือ 1. เรียนเพื่อเติมความรู้  2. เรียนเพื่อเปลี่ยนอาชีพ 3. เรียนเพื่อยกระดับ เป็นเหตุผลส่วนใหญ่ของนักศึกษาในปัจจุบันที่สังคมส่วนหนึ่งมองว่าวุฒิการ ศึกษาสำคัญกว่าประสบการณ์  4. เรียนเพื่อเงิน เพราะต้องการมีรายได้ที่ดีขึ้นจากวุฒิการศึกษาที่สูงขึ้น หรือการเรียนทำให้ได้รับทุนการศึกษา ทำให้มีรายได้เลี้ยงตัวเองได้พอสมควร  5. เรียนเพื่อฆ่าเวลา เพราะไม่รู้ว่าจะทำอะไรจึงมาเรียนต่อและหวังว่าตนเองจะรู้ได้ว่าจะทำอะไรต่อ ไปในระหว่างที่เรียนหรือเมื่อเรียนจบ 6. เรียนตามเพื่อน  7. เรียนเพราะถูกบังคับ อาจโดนบังคับจากผู้ปกครองหรือเงื่อนไขของทุนการศึกษาที่ได้รับ
ไม่ว่าเหตุผลส่วนตัวในการตัดสินใจเรียนระดับปริญญาโทและเอกของแต่ละคนจะ เป็นอย่างไร หากตัดสินใจเรียนแล้วก็ต้องหาข้อมูลว่าจะเรียนอะไร และเรียนที่ไหนดี ปัจจุบันหลักสูตรการศึกษาขั้นสูงในประเทศไทยมีจำนวนมากมาย ทั้งหลักสูตรปกติ หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรแบบเต็มเวลาที่นักศึกษาส่วนใหญ่อยู่กับการเรียนไม่สามารถทำงานประจำ เช่นเดิมได้ และหลักสูตร part time ที่มีการเรียนการสอนในตอนเย็นหลังเวลาทำงานปกติและวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ ทำให้เหมาะกับผู้อยากเรียนต่อแต่ไม่อยากลาออกจากงานประจำที่ทำอยู่
         ก่อนที่จะสมัครเรียน ต้องตอบคำถามตัวเองอีกข้อว่าต้องการศึกษาต่อในสาขาวิชาใด จะเป็นสาขาเดิมที่เคยเรียนมาแล้วในระดับปริญญาตรี หรือจะเปลี่ยนใจไปเรียนสาขาวิชาใหม่ และหากไปเรียนสาขาวิชาใหม่ต้องมีความรู้พื้นฐานอะไรบ้าง และเพราะอะไรถึงต้องเปลี่ยนไปเรียนในสาขาวิชาอื่นด้วย ผู้ที่สนใจจะเรียนต่อจำเป็นต้องคิดให้รอบคอบก่อนตัดสินใจเลือกเรียน เพราะสิ่งนี้จะส่งผลต่ออนาคตของผู้เรียนอย่างมาก

บทที่ 2 การศึกษาขั้นสูงในระดับปริญญาโทและเอก
         หรือที่เรียกว่า “บัณฑิตศึกษา” จุดประสงค์ของการศึกษาในระดับปริญญาตรี โท และเอก นั้นแตกต่างกันมาก สรุปได้ว่า 1. “เพื่อรู้” ในการศึกษาระดับปริญญาตรี 2. “เพื่อนำไปใช้จริง” ในการศึกษาระดับปริญญาโท 3. “เพื่อค้นหาสิ่งใหม่ๆ” ในการศึกษาระดับปริญญาเอก
การศึกษาในระดับปริญญาเอกจะแตกต่างกับปริญญาโทอย่างมาก ทั้งในเรื่องของระยะเวลาที่ใช้ศึกษา รวมทั้งขนาดและคุณภาพของงานวิจัย อย่างต่ำตั้งแต่ 3 ปี ถึง 8 ปี ขึ้นอยู่กับระเบียบของสถาบันการศึกษานั้นๆ
         ประเด็นถัดมาที่ผู้เรียนต้องพิจารณาก็คือสถาบันการศึกษานั้นมีหลักสูตร ที่ต้องการจะเรียนหรือไม่ ถ้ามีเป็นลักษณะใด เช่น ทำวิจัยอย่างเดียว หรือมีเรียนรายวิชาและทำวิจัยด้วย มีกำหนดการเรียนกี่ปีและความยากง่ายที่จะเข้าศึกษาต่อที่สถาบันนี้เป็นอย่าง ไร
เมื่อตัดสินใจได้แล้วว่าจะเรียนต่อในสาขาวิชาใด ก็มาถึงคำถามที่ว่า “แล้วจะไปเรียนต่อที่ไหน” สถานที่เรียนต่อก็เป็นสิ่งสำคัญต่อการศึกษาด้วยเช่นกัน จะเรียนต่อที่กรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด ในประเทศหรือต่างประเทศ  ถ้าเป็นต่างประเทศจะเป็นประเทศอะไร ประชาชนในประเทศนั้นสื่อสารกันด้วยภาษาอะไร อากาศเป็นอย่างไร ฯลฯ

บทที่ 3 กระบวนการทั่วไปในการศึกษาระดับปริญญาเอก
         กล่าวถึงหัวข้อ ความจริงในการศึกษาระดับปริญญาเอก  ความ รู้ความสามารถภายหลังจบการศึกษาระดับปริญญาเอก ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมคาดหวังไว้กับนักศึกษาจะสูงมาก เช่น สามารถใช้ภาษาทางวิชาการได้ถูกต้องทั้งการพูดและการเขียน มีความสามารถในการเขียนที่ถูกต้องตามโครงสร้างของภาษาเขียน สามารถเขียนและอธิบายได้อย่างมีเหตุมีผลตามหลักของงานเขียนทางวิชาการ ฯลฯ

บทที่ 4 การทำวิจัย
         ว่าด้วยหัวข้องานวิจัย หลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้องานวิจัย การวางแผน การจัดการเวลา การปฏิบัติ

บทที่ 5 การเขียนวิทยานิพนธ์
         รูปแบบของวิทยานิพนธ์ โครงสร้างของวิทยานิพนธ์ เทคนิคการเขียนวิทยานิพนธ์

บทที่ 6 การสอบวิทยานิพนธ์
         ว่าด้วย หลักเกณฑ์ในการสอบวิทยานิพนธ์ การเลือกกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ การส่งเล่มวิทยานิพนธ์ การเตรียมตัวก่อนสอบวิทยานิพนธ์ ผลการสอบวิทยานิพนธ์

บทที่ 7 ทำไมเรียนไม่จบ
        สาเหตุที่เรียนไม่จบ คำแนะนำทั่วไปสำหรับนักศึกษาที่ทำวิจัย

บทที่ 8 ประสบการณ์ความรู้สึกในการศึกษาขั้นสูง

บทที่ 9 บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา
         จำนวนอาจารย์ที่ปรึกษา หน้าที่ สิ่งอาจารย์ที่ปรึกษาที่นักศึกษาต้องการจากอาจารย์ที่ปรึกษา การเปลี่ยนอาจารย์ที่ปรึกษา

บทที่ 10 การปรับตัวของนักศึกษา กล่าวถึง ชีวิตในหมาวิทยาลัย การศึกษาด้วยตนเอง การจัดการเวลา การสื่อสารกับอาจารย์ที่ปรึกษา

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
เสกศักดิ์ อัสวะวิสิทธิ์ชัย.  ทำอย่างไรถึงจะเรียนจบปริญญาโทและเอก.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.  233 หน้า. (LB 2395 ส72)

เทคนิคการเขียนคำจำกัดความ

เทคนิคการเขียนคำจำกัดความ

         ในการเขียนคำจำกัดความของนักการศึกษา หรือนักวิจัย จะมีการดำเนินการเหมือน ๆ กัน
สมมุติว่าจะพูดถึงเรื่อง HRM มีการจัดทำดังนี้
         a พูดว่า.....
         b พูดว่า.....
         C พูดว่า.....
         และ d พูดว่า....
สรุปแล้วในเรื่อง   HRM    พูดว่า.... (นำของ abcd มาบูรณาการรวมกันนนะแล้วสรุปคร้า)

ขอขอบคุณ
คุณบุญชนิต วิงวอน

เทคนิคไม่ลับกับวิจัยบทที่ 2

เทคนิคไม่ลับกับวิจัยบทที่ 2

         การเขียนวิจัยในบทที่  2 จะเป็นเรื่องของทฤษฎี และงานที่ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

ขอขอบคุณ
คุณบุญชนิต วิงวอน

เทคนิดการเขียนวิจัยบทที่ 1

เทคนิคการเขียนวิจัย บทที่ 1
บทที่ 1 
         บทที่ 1 จะเขียนเป็นในรูปแบบ macro (ภายใหญ่) --> micro (ภาพย่อย) โดยเน้นบริบทนะ

ขอขอบคุณ
คุณบุญชนิต วิงวอน

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

การย่อคำในภาษาอังกฤษ


การย่อคำในภาษาอังกฤษ
         การย่อคำในภาษาอังกฤษมีหลายแบบ เช่น
- เอาอักษรตัวแรกกับตัวสุดท้ายมาเป็นคำย่อ เช่น Road ย่อเป็น Rd
- เอาอักษรตัวต้น ๆ ของคำมาเป็นคำย่อ เช่น ชื่อเดือน Jan Feb Mar …..
- เอาอักษรตัวแรกของคำมารวมกัน ซึ่งเมื่อถึงเวลาอ่าน อาจจะอ่านอักษรนั้นทีละตัว เช่น Chief Executive Officer ย่อเป็น CEO อ่านว่า ซี อี โอ แต่ Association of South- East Asian Nations ซึ่งย่อเป็น ASEAN อ่านเป็นคำว่า อาเซียน (ฝรั่งออกเสียงเป็น 3 พยางค์ว่า อ๊า-ซิ-เอิน)

ถ้าท่านต้องการหาคำย่อ เชิญไปที่ 2 เว็บข้างล่างนี้ได้เลยครับ
http://www.abbreviations.com/

แต่บางครั้งเราต้องการทราบว่า คำนี้ ๆ ไปอยู่ในคำย่ออะไรบ้าง เราก็ไปที่ลิงค์นี้ เช่น พิมพ์คำว่า Thailand ลงไป
http://www.abbreviations.com/bs.asp?st=&SE=3

ก็ได้ผลออกมาว่า Thailand อยู่ในคำย่อ 64 คำ เช่น TAT = Tourism Authority Of Thailand, SET = Stock Exchange of Thailand และอื่น ๆ ที่เราไม่ค่อยได้ยินชื่ออีก 62 คำย่อ เชิญคลิกดูผลได้ที่นี่ครับ
http://www.abbreviations.com/bs.asp?st=Thailand&SE=3

ที่ผมชอบใจเป็นพิเศษคือ เขารวบรวมคำย่อที่เพี้ยนไปจากที่เราเคยรู้จัก เช่น NATO นอกจากมาจาก North Atlantic Treaty Organization (องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติดเหนือ) ยังแปลว่า No Action Talk Only หรือ “ไม่ทำเอาแต่พูด” หรือ MBA นอกจากมาจาก Masters of Business Administration = ปริญญาโทการบริหารธุรกิจ ยังแปลว่า “Married But Available” = มีคู่แล้วแต่ก็ยังมีอีกได้

เรื่องเอาคำย่อมาล้อเลียนนี้ ยังมีอีกเยอะ ลองไปดูที่นี่ซีครับ บางครั้งทะลึ่งมาก บางครั้งหัวเราะก๊ากเลย แต่คนถูกล้อคงจะขำไม่ออก เช่น
http://www.dani.de/eserver/jokes/engakues.sht

ส่วนที่ directory ของ Google และ Yahoo ช้างล่างนี้ ก็มีอีกหลายเว็บ บางเว็บมีให้ค้นคำย่อเฉพาะสาขาวิชา
จาก Google Directory: Acronyms
จาก Yahoo Directory: Acronyms and Abbreviations

คำย่อที่พบโดยทั่วไป Common Abbreviations
http://www.factmonster.com/ipka/A0775271.html

ขอขอบคุณ :
พิพัฒน์
pptstn@yahoo.com

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

การนิเทศเต็มพิกัด


การนิเทศเต็มพิกัด

         ความหมายของ การนิเทศเต็มพิกัด คือ  การปฏิบัติหน้าที่นิเทศการศึกษาโดยระดมพลังของ การนิเทศ ทั้งจำนวนอัตรากำลังบุคลากร เทคนิควิธีการ และเชื่อมโยงเครือข่ายในการนิเทศ ให้เกิดคุณภาพทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ

สมรรถนะการนิเทศเต็มพิกัด

         สมรรถนะการนิเทศเต็มพิกัด หมายถึง พฤติกรรมการทำงานที่พึงประสงค์ของศึกษานิเทศก์ที่สามารถแก้ไขปัญหาคุณภาพการเรียนการสอนได้จริง เห็นผลเร็ว และเป็นรูปธรรมชัดเจน ประกอบด้วย 3 ประการ (1 ตรง 2 เต็ม) คือ
1. ตรงประเด็น เป็นการนิเทศที่ตรงกับประเด็นที่เป็นจุดเน้นการขับเคลื่อนเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติ และประเด็นที่เป็นปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งศึกษานิเทศก์จะต้องสามารถวินิจฉัยปัญหา ค้นหาสาเหตุ และดำเนินการนิเทศเพื่อแก้ไขปัญหาได้จริง
2. เต็มกำลัง เป็นการนิเทศอย่างเต็มกำลังความสามารถ เป็นการระดมสรรพกำลังที่มี ทั้งกำลังกาย กำลังใจ กำลังสติปัญญา/วิชาการ และทรัพยากรต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายให้เห็นผลอย่างรวดเร็ว
3. เต็มพื้นที่ เป็นการนิเทศที่ทั่วถึง ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย และมุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ รวมทั้งต้องเชื่อมโยงเครือข่ายในพื้นที่ให้มาเป็นพลังหนุนเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในเขตพื้นที่การศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม

ขอขอบคุณ Zasswat Khantapthaiติดตามเพิ่มเติมจาก
https://sites.google.com/site/esdcwebsite/events-schedule

เทคนิคการใช้ Web Cam กับ Facebook


เทคนิคการใช้ Web Cam กับ Facebook
Facebook เว็บแคม (Webcam) Video Calling คุยผ่านกล้อง บริการเสริมของ facebook สามารถคุยสนทนา เว็บแคม(Webcam) เห็นหน้าผ่าน facebook สังคมออนไลน์ มีภาพและเสียง คุยกันได้ โดยตัว Facebook Video Calling ต้องโหลดโปรแกรมเสริม facebook Vidoo Calling เป็นโปรแกรมเสริมที่จะช่วยให้สามารถคุยผ่านกล้อง webcam มองเห็นหน้ากันสดๆ มีภาพและเสียง ปัจจุบัน โดยไม่ต้องใช้เงินสักบาท บริการฟรี จาก facebook

วิธีคุยสนทนา ผ่าน webcam facebook1. ดาวน์โหลดโปรแกรมเสริม facebook webcam Video Calling   คลิกที่นี่
2. ให้เข้าไปที่ http://www.facebook.com/videocalling
3.  จากนั้นก็เข้าไปที่ แชท กับคนที่เราต้องการจะคุยด้วย มีภาพตัวอย่าง

facebook webcam Video Calling  คุยผ่าน เว็บแคม
4. ก็จะเห็นหน้าคุยกันสดๆ ผ่าน facebook  Video Calling เห็นหน้าแล้วละครับ

เทคนิคการค้นคว้างานวิจัยผ่าน google

การค้นคว้างานวิจัย เพื่อเป็นวรรณกรรม ให้การสนับสนุนงานวิจัยของเราให้มีความน่าเชื่อถือนั้น เป็นยาขมหม้อใหญ่เลยทีเดียวสำหรับนักวิจัย ไม่ว่าจะเป็นศึกษาระดับปริญญาโท ปริญญาเอกก็ตาม แต่วันนี้มีเทคนิคที่จะแนะนำให้สมาชิกได้นำไปใช้ 3 วิธี (ถ้าพบเพิ่มเติมจะนำมาบอก)
1. โดยการเข้าไปที่เว็บไซต์หอสมุดของมหาิวิทยาลัยนั้นโดยตรง เช่น
    "http://library.cmu.ac.th"
    "http://library.lpru.ac.th"
    แล้วหาฐานข้อมูลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยนั้นๆ
2.โดยการใช้ฐานข้อมูลของภาครัฐ เช่น
3.โดยการเข้าผ่าน Scholar ของ google โดยตรง 
   ซึ่ง Scholar ของ google นี้ จะมีลักษณะที่พิเศษ ที่สามารถกำหนด ระยะเวลาของปี พ.ศ. งานวิจัยได้ด้วย นอกจากนั้นยังสามารถเห็นไฟล์เป็นแบบ pdf ที่สามารถดาวน์โหลดฟรีได้อีกด้วย
    http://scholar.google.co.th


    เพื่อน ๆ ลองนำไปใช้ดูนะครับ มีข้อสงสัย ก็เขียน Comment ไว้นะครับ

เทคนิคการค้นหาข้อมูลด้วย google


Google Search


ขอบข่ายความรู้เรื่อง Google Search
  1. Google Search คืออะไร ?
  2. เทคนิคการค้นหาข้อมูลด้วย Google ที่ควรทราบ- การใช้เครื่องหมายบวก (+) ช่วยในการค้นหาข้อมูล
    - ตัดบางคำที่ไม่ต้องการค้นหาด้วยเครื่องหมายลบ ( - )
    - การค้นหาด้วยเครื่องหมายคำพูด ("...")
    - การค้นหาด้วยคำว่า OR
    - ไม่ต้องใช้คำว่า " AND" ในการแยกคำค้นหา
    Google จะไม่ใส่ใจใน Common Word
    - ค้นหารูปได้แสนง่าย
  3. เทคนิคการค้นหาข้อมูลด้วย Google แบบพิเศษGoogle ค้นหาไฟล์ได้
    - เว็บไซต์ที่ถูกลบไปแล้ว Google ก็ยังค้นหาได้อยู่
    - ค้นหาหน้าเว็บที่มีข้อมูลคล้ายกันได้
    Google สามารถค้นหาเว็บทั้งหมดที่เชื่อมมายังเว็บนั้นได้
    Google สามารถหาคำเฉพาะเจาะจงในเว็บไซต์นั้นๆ ได้
    - ค้นหาแบบวัดดวงกันบ้าง
    - ค้นหาบทสรุปของหนังสือก่อนตัดสินใจซื้อ
    - ใช้ Google แทนเครื่องคิดเลขได้
    - ค้นหาความหมายหรือนิยามของศัพท์เฉพาะ(เป็นภาษาอังกฤษ)
    - ค้นหาเว็บไซต์รวมรูปดีๆ
    - ค้นหารีวิวภาพยนตร์สนุกๆ
    - ค้นเนื้อหาข้อมูลในเว็บไซต์ที่ต้องการ
  4. การใช้เครื่องมือค้นหาข้อมูลแบบละเอียด(Advance Search)


1. Google Search คืออะไร ?
Google Search เป็นเครื่องมือที่ให้บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต(Search Engine) ของเว็บไซต์ Google.com ที่โด่งดังที่สุดในปัจจุบันครับ ผู้ใช้งานเพียงเข้าเว็บไซต์ www.Google.com จากนั้นพิมพ์คำหรือข้อความ( Keyword) เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการค้นหา เพียงชั่วอึดใจหลังกดปุ่ม EnterGoogle Search ก็จะแสดงเว็บไซต์ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ Keyword เหล่านั้นทันที
ไม่เฉพาะแต่เพียงการค้นหาข้อมูลในรูปของเว็บไซต์เท่านั้น Google Searchยังสามารถค้นหาข้อมูลที่เป็นไฟล์รูปภาพ( Images) , กลุ่มข่าว( News Groups) และ สารบบเว็บ( Web Directory) ได้อย่างแม่นยำอย่างน่าทึ่งอีกด้วย ปัจจุบันเว็บไซต์ Google ได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้ที่ต้องการค้นหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ โดยมีผู้เข้าใช้กว่า 250 ล้านครั้งต่อวันเลยทีเดียวครับ
บริการค้นหาข้อมูลของ Google Search แบ่งหมวดหมู่ของการค้นหาออกเป็น 4 หมวดหลักด้วยกัน คือ


1. เว็บ ( Web) เป็นการค้นหาข้อมูลในรูปแบบของเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลก โดยการแสดงผลจะแสดงเว็บไซต์ที่มีคำที่เป็น Keyword อยู่ภายเว็บไซต์นั้น
2. รูปภาพ ( Images) เป็นการค้นหาไฟล์รูปภาพจากการแปลคำ Keyword
3. กลุ่มข่าว ( News Groups) เป็นการค้นหาข่าวสารจากกลุ่มสมาชิกที่ใช้บริการ Google News Groups เพื่อรับส่งข่าวสารกันเองระหว่างสมาชิก โดยมีการระบุชื่อผู้เขียนข่าว , หัวข้อข่าว , วันที่และเวลาที่โพสต์ข่าว
4. สารบบเว็บ ( Web Directory) Google มีการจัดประเภทของเว็บไซต์ออกเป็นหมวดหมู่ ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาเว็บในเรื่องที่ต้องการตามหมวดหมู่ที่มีอยู่แล้วได้เลยทันทีครับ


2. รูปแบบการค้นหาข้อมูลด้วย Google ที่ควรทราบ
การค้นหาโดยทั่วไปส่วนใหญ่แล้วจะใช้ Keyword เป็นเครื่องมือในการนำทางการค้นหาอย่างเดียว แต่ถ้าผู้ใช้รู้จักใช้เครื่องหมายบางตัวร่วมด้วย ก็จะทำให้ขอบเขตการค้นหาของ Google แคบลง ทำให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการมากขึ้น เครื่องหมายที่สามารถนำมาช่วยในการค้นหาได้ มีดังนี้

- การใช้เครื่องหมายบวก (+) เชื่อมคำ
โดยปกติ Google จะไม่ใส่ใจในในการค้นหาข้อมูลจากการพิมพ์ Keyword ประเภท Common Word( คำง่ายๆ ) เช่น at, with, on, what, when, where, how, the, to, of แต่เนื่องจากเป็นบางครั้งคำเหล่านี้เป็นคำสำคัญของประโยคที่ผู้ใช้จำเป็นต้องค้นหา ดังนั้นเครื่องหมาย + จะช่วยเชื่อมคำ โดยมีเงื่อนไข ว่า ก่อนหน้าเครื่องหมาย + ต้องมีการเว้นวรรค 1 เคาะด้วย เช่น หากต้องการค้นหาเว็บไซต์เกี่ยวกับเกมส์ที่มีชื่อว่า Age of Empire ถ้าผู้ใช้พิมพ์ Keyword Age of Empire Google ก็จะทำการค้นหาแยกคำโดยไม่สนใจคำว่า of และจะค้นหาคำว่า Age หรือ Empire เพียงสองคำ แต่ถ้าผู้ใช้ระบุว่า Age +of Empire Google จะทำการค้นหาทั้งคำว่า Age, of และ Empire ครับ

ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข (+)

- ตัดบางคำที่ไม่ต้องการค้นหาด้วยเครื่องหมายลบ ( - )
จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถตัดเรื่องที่ผู้ใช้ไม่ต้องการ หรือไม่เกี่ยวข้องออกไปได้ เช่น ถ้าผู้ใช้ต้องการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการ ล่องแก่ง แต่ไม่ต้องการ การล่องแก่งที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดตาก ให้ผู้ใช้พิมพ์ Keyword ว่า ล่องแก่ง -ตาก(เช่นเดียวกับเครื่องหมาย + ต้องเว้นวรรคก่อนหน้าเครื่องหมายด้วย) Googleจะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการล่องแก่ง แต่ไม่มีจังหวัดตากเข้ามาเกี่ยวข้อง
ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข (-)

- การค้นหาด้วยเครื่องหมายคำพูด ("...")
เหมาะสำหรับการค้นหาคำ Keyword ที่มีลักษณะเป็น ประโยควลีหรือกลุ่มคำ ที่ผู้ใช้ต้องการให้แสดงผลทุกคำในประโยค โดยไม่แยกคำ เช่น ถ้าผู้ใช้ต้องการหาเว็บไซต์เกี่ยวกับเพลงที่มีชื่อว่า If I Let You Go ให้พิมพ์ว่า If I Let You Go" Google จะทำการค้นหาประโยค If I Let You Go" ทั้งประโยคโดยไม่แยกคำค้นหา
ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข ("...")

- การค้นหาด้วยคำว่า OR
เป็นการสั่งให้ Google ค้นหาข้อมูลเพิ่มมากขึ้น เช่น ถ้าผู้ใช้ต้องการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับ การล่องแก่ง ทั้งในจังหวัดตาก และปราจีนบุรี ให้ผู้ใช้พิมพ์ Keyword ว่า ล่องแก่ง ตาก OR ปราจีนบุรี Google จะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการล่องแก่งทั้งในจังหวัดตาก และกาญจนบุรี
ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข OR

- ไม่ต้องใช้คำว่า " AND" ในการแยกคำค้นหา
แต่เดิมการใช้ Keyword ที่มากกว่า 1 คำในการค้นหาเว็บไซต์แบบแยกคำ ผู้ใช้จำเป็นต้องใช้ AND ในการแยกคำเหล่านั้นครับ ปัจจุบันไม่ต้องใช้ AND แล้วครับ เพราะ Google จะทำการแยกคำให้โดยอัตโนมัติเมื่อผู้ใช้ทำการเว้นวรรคคำเหล่านั้น เช่น ถ้าผู้ใช้พิมพ์คำว่า Thai Travel Nature เมื่อคลิกปุ่มค้นหา ก็จะพบว่าในรายชื่อหรือเนื้อหาของเว็บที่ปรากฏจะมีคำว่า Thai ,Travel และ Nature อยู่ในนั้นด้วยครับ
ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข AND

- Google จะไม่ใส่ใจใน Common Word
คำศัพท์พื้นๆ อย่าง the, where, is, how, a, to และอื่นๆ รวมทั้งตัวเลขและตัวอักษรเดี่ยวๆ Google มักไม่ให้ความสำคัญและใส่ใจที่จะค้นหาครับ เนื่องจากเครื่องมือที่ Google ใช้จัดเก็บและรวบรวมเว็บทั่วโลกจะค่อนข้างเสียเวลาในการเก็บรวบรวมเว็บที่มีคำเหล่านี้ (ซึ่งมีเยอะมากๆ) แต่ถ้าหากจำเป็น ผู้ใช้จะต้องใช้เครื่องหมาย " + " ในการเชื่อมคำเหล่านี้ด้วยครับ หรืออีกทางก็คือผู้ใช้อาจจะระบุคำที่ต้องค้นหาทั้งหมดในรูปของวลีภายใต้เครื่องหมาย ……. " ครับ
ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข Common Word

- ค้นหารูปได้แสนง่าย
ความสามารถที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่ชอบกันนักหนา และสร้างชื่อให้กับ Google ก็คือการค้นหารูปภาพด้วย Google Search ครับ วิธีการใช้ก็คือ
            1. คลิกเมนูลิ้งค รูปภาพ จากนั้นก็พิมพ์ชื่อภาพที่ต้องการค้นหา และคลิกปุ่มค้นหารูปภาพ ดังรูป

            2. จะปรากฏรูปภาพทั้งหมดที่ต้องการดังรูปครับ


3. เทคนิคการค้นหาข้อมูลด้วย Google แบบพิเศษ

Google ค้นหาไฟล์ได้

Google สามารถค้นหาไฟล์เอกสารที่สำคัญๆ ได้ดังนี้
Adobe Portable Document Format ( ไฟล์นามสกุล . pdf)
Adobe PostScript ( ไฟล์นามสกุล . ps)
Lotus 1-2-3 ( ไฟล์นามสกุล . wk1, .wk2, .wk3, .wk4, .wk5, .wki, .wks และ . wku)
Lotus WordPro ( ไฟล์นามสกุล . lwp)
MacWrite ( ไฟล์นามสกุล . mw)
Microsoft Excel ( ไฟล์นามสกุล . xls)
Microsoft PowerPoint ( ไฟล์นามสกุล . ppt)
Microsoft Word ( ไฟล์นามสกุล . doc)
Microsoft Works ( ไฟล์นามสกุล . wks, .wps, .wdb)
Microsoft Write ( ไฟล์นามสกุล . wri)
Rich Text Format ( ไฟล์นามสกุล . rtf)
Shockwave Flash ( ไฟล์นามสกุล . swf)
Text ( ไฟล์นามสกุล . ans, .txt)

รูปแบบของการค้นหาคือ ให้ผู้ใช้พิมพ์ "ชื่อเรื่องหรือชื่อเอกสาร" filetype: นามสกุลของไฟล์ ในช่อง Google ตัวอย่างเช่น "การเลี้ยงไก่"filetype:doc ซึ่งหมายถึง การค้นหาไฟล์เอกสารที่มีนามสกุล . doc เรื่อง การเลี้ยงไก่ นั่นเอง

ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข filetype:

- เว็บไซต์ที่ถูกลบไปแล้ว Google ก็ยังค้นหาได้อยู่
เพราะก่อนหน้านี้เว็บไซต์ที่ถูกลบเหล่านั้นได้ถูกบรรจุหรือจัดเก็บไว้ในเครื่องที่เรียกว่า Cache ของ Google ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วนั่นเองครับ เช่น บางลิงค์ที่ผู้ใช้งานคลิกเข้าชมไม่ได้อันเนื่องมาจากถูกลบออกไปแล้ว ผู้งานก็เพียงแต่คลิกที่เมนู หน้าที่ถูกเก็บไว้ ครับ

ภาพตัวอย่าง

- ค้นหาหน้าเว็บที่มีข้อมูลคล้ายกันได้
ในบางครั้งเมื่อ Cache จะไม่สามารถช่วยผู้ใช้ค้นหาเว็บไซต์นั้นได้ แต่ผู้ใช้งานสามารถค้นหาเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาคล้ายกัน โดคลิกไปยังเมนู หน้าที่คล้ายกัน ครับ

ภาพตัวอย่าง

Google สามารถค้นหาเว็บทั้งหมดที่เชื่อมมายังเว็บนั้นได้
โดยพิมพ์ link: ชื่อ URL ของเว็บ ในช่อง Search ของ Google เช่น link:www.plawan.com เป็นการค้นหาลิงค์ที่เชื่อมมายังเว็บของปลาวาฬดอตคอมเป็นต้น
ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข link:

Google สามารถหาคำเฉพาะเจาะจงในเว็บไซต์นั้นๆ ได้
โดยพิมพ์ คำที่ค้นหา site: ชื่อ URL ของเว็บ ในช่อง Search ของGoogle เช่น Google Earth site:www.kapook.com ซึ่งเป็นการหาหน้าเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับ Google Earth ในเว็บไซต์ของ Kapook นั่งเองครับ
ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข site:

- ค้นหาแบบวัดดวงกันบ้าง
จะวัดดวงค้นหาเว็บไซต์ด้วย Google กันสักครั้งคงไม่เป็นไร เพราะถ้าดวงดีผู้ใช้ก็จะได้ไม่เสียเวลามานั่นเลือกให้เมื่อตุ้มครับ โดยพิมพ์ Keyword สำหรับค้นหาเว็บไซต์ที่ต้องการจากนั้นคลิกที่ปุ่ม ดีใจจัง ค้นหาแล้วเจอเลย
ภาพตัวอย่างการใช้ปุ่ม ดีใจจัง ค้นหาแล้วเจอเลย

- ค้นหาบทสรุปของหนังสือก่อนตัดสินใจซื้อ
ก่อนการตัดสินใจที่จะซื้อหนังสือสักเล่ม ผู้ใช้น่าจะทราบก่อนว่าเนื้อหามีอะไรบ้าง หรือมีโอกาสได้ดูสารบัญของหนั้งสือเล่มนั้นเสียก่อนครับ GoogleSearch สามารถบอกผู้ใช้ได้เพียงใส่ชื่อหนังสือหลังคำว่า books about ชื่อหนังสือ เช่น books about Harry Potter

ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข books about

- ใช้ Google แทนเครื่องคิดเลขได้
ผู้ใช้สามารถใช้ Google คำนวนตัวเลขด้วยเครื่องหมายในการคำนวนหลักๆ เช่น
+ = บวก
- = ลบ
* = คูณ
/ = หาร
^ = ยกกำลัง

ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข Calculator

- ค้นหาความหมายหรือนิยามของศัพท์เฉพาะ(เป็นภาษาอังกฤษ)
Google สามารถค้นหาศัพท์เฉพาะได้ด้วยการพิมพ์ define: ศัพท์เฉพาะ
ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข define:

- ค้นหาเว็บไซต์รวมรูปดีๆ
นอกจากการใช้เมนู รูปภาพ ( Images) ในการค้นหารูปภาพแล้ว ผู้ใช้ยังค้นหาภาพได้ด้วยการพิมพ ชื่อภาพ pictures
ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข pictures

- ค้นหารีวิวภาพยนตร์สนุกๆ
ผู้ใช้สามารถค้นหารีวิวหรือตัวอย่างภาพยนตร์ด้วย Google ได้ง่ายๆ ด้วยการพิมพ์ movie: ชื่อภาพยนตร์
ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข movie:

- ค้นเนื้อหาข้อมูลในเว็บไซต์ที่ต้องการ
ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลเฉพาะในเว็บไซต์ที่ต้องการได้ โดยการพิมพ์ ชื่อข้อมูลค้นหา site: เว็บไซต์ที่จะค้นหา ยกตัวอย่างเช่น การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับ Spyware ในเว็บไซต์ของกระปุก โดยการพิมพ์ Spyware site: www.kapook.com
ภาพตัวอย่างการใช้เงื่อนไข การค้นเนื้อหาข้อมูลในเว็บไซต์ที่ต้องการ


4. การค้นหาข้อมูลแบบละเอียด( AdvanceSearch)
เพื่อความแม่นยำในการค้นหาข้อมูล ผู้ใช้สามารถกำหนดเงื่อนไขในแบบที่ละเอียดได้ไม่ยากครับ เพราะ Google ได้เพิ่มรูปแบบในการกำหนดเงื่อนไขสำเร็จรูปมาให้เรียบร้อยแล้ว โดยคลิกไปยังเมนู ค้นหาแบบละเอียด ด้านขวามือ ก็จะเข้าสู่หน้าค้นหาดังรูป
รูปแบบการค้นหาข้อมูลของ Google ในแบบสำเร็จรูปนี้ค่อนข้างใช้งานง่ายครับ เนื่องจากเป็นภาษาไทยทั้งหมด ผู้ใช้เพียงพิมพ์ Keyword ที่ต้องการค้นหากอรปกับใช้ตัวเลือกด้านล่างเพื่อให้ขอบข่ายการหาเฉพาะเจาะจงในสิ่งที่ต้องการครับ

ขอขอบคุณ oRaNgE sMaLL FiSh